Month: July 2017

ภาวะวิกฤติห้องพักโรงแรมในญี่ปุ่นอาจมีมากจนเกินความจำเป็น

การสำรวจครั้งใหม่พบว่ามีห้องพักเพิ่มขึ้น 65,000 ห้องภายในปี 2020

ที่โตเกียว ญี่ปุ่น กำลังกลัดกลุ้มกับการที่ห้องพักโรงแรมไม่มีเหลือสำรองไว้เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่พุ่งสูงขึ้นและเป็นเมืองหลวงที่เตรียมการเพื่อจะเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกปี 2020.

แต่ทั่วทั้งประเทศได้ติดป้ายไฟว่า “ขอโทษที ไม่มีห้องว่างแล้ว” หรือเปล่าล่ะ?

การสำรวจล่าสุดโดยบริษัทให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่โตเกียว CBRE กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่มีอะไรต้องเป็นกังวล มันแสดงให้เห็นว่าในปี 2020 หรือราวๆนั้น แปดเมืองใหญ่จะเจอกับการเพิ่มขึ้นโดยรวมของห้องพักประมาณ 65,000 ห้อง เพิ่มขึ้น 26 เปอเซ็นต์จากระดับปัจจุบัน

สิ่งนี้คงจะมากพอเพื่อป้องกันการขาดแคลนใดๆของโอลิมปิก

อันที่จริง การที่เพิ่มห้องใหม่เข้ามาทั้งหมดอาจทำให้เสียของก็ได้

ตามการสำรวจ โตเกียวคาดไว้ว่าจะมีห้องพักอีก 25,000 ห้องภายในปี 2020 หรือหลังจากนั้นไม่นาน คิดเป็นเพิ่มขึ้นอีก 25.6 เปอเซ็นต์ จำนวนห้องพักในโอซาก้าคาดไว้ว่าจะเติบโตขึ้นถึง 18,000 ห้องในเวลานั้น หรือเพิ่มขึ้นอีก 34.9 เปอเซ็นต์

เกียวโตคาดคะเนไว้ว่าจะเพิ่มห้องอีก 8,000 ห้อง คิดเป็น 36.1 เปอเซ็นต์ อ้างอิงถึงการสำรวจ

ห้องพักในเมืองหลวงโบราณ สถานที่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวใหญ่ๆ กลายเป็นทรัพยากรช่วงสั้นๆ

ก่อนหน้านั้นไม่นาน สถาบันวิจัยมิซุโฮะประมาณการณ์ไว้ว่าโตเกียวจำเป็นต้องมีห้องพักเพิ่มขึ้นอีก 16,700 ห้องภายในปี 2016 เพื่อให้ทันกับความต้องการในปี 2020 สถาบันมิซุโฮะยังคงคาดการณ์อีกว่าโอซาก้าต้องการห้องพักเพิ่มอีก 13,300 ห้อง

อ้างถึงสถาบันการท่องเที่ยวแห่งชาติญี่ปุ่น การเข้ามาของชาวต่างชาติในญี่ปุ่นสร้างสถิติถึง 24 ล้าน คนในปี 2016 มันเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บางโรงแรมเกือบเต็มตลอดปี

แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ที่จริงแล้ว อุตสาหกรรมกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนธุรกิจโรงแรมมากกว่า

และห้องพักส่วนใหญ่ที่จะถูกเพิ่มขึ้นในช่วงสองสามปีถัดไปถูกคาดหวังไว้ว่าจะอยู่ในธุรกิจโรงแรม เช่นตัวอย่าง APA Group ในญี่ปุ่น วางแผนไว้ว่าจะเปิดโรงแรมอีก 47 แห่ง ด้วยห้องพักรวมกันถึง 14,500 ห้องจนถึงปี 2020

ในโตเกียว โรงแรมหลายแห่งกำลังประสบกับอัตราการเข้าพักที่ซบเซา อัตราที่ Shibuya Excel Hotel Tokyu ลดลงถึง 88 เปอเซ็นต์ในปีงบประมาณ 2016

ขณะนี้ความกลัวของจำนวนปริมาณมากกำลังซัดสาดไปทั่วตลาดอสังหาริมทรัพย์โรงแรม

การซื้อขายโรงแรมเคยทำกำไรได้มากสุดในปี 2015 เมื่อการทำกำไรของโรงแรมก้าวกระโดด ขอขอขอบคุณนักท่องเที่ยวต่างชาติทุกคน

ยาซาโอคาซุ เทราดะ เจ้าหน้าที่อสังหาริมทรัพย์อาวุโสของผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ JLL กล่าวว่าหลายกองทุนเชื่อว่า “ตอนนี้แหละคือเวลาที่ต้องขจัด [กิจการโรงแรม] ออกจากภัยคุกคามของความไม่แน่นอนในอนาคตให้หมดไป”

นาโอกิ โยชิยามะ กรรมการบริษัทอาวุโสของ CBRE กล่าวว่าโรงแรมทั้งหลายจะต้องสร้างความแตกต่างให้แก่ตัวเองเพื่อเอาชนะการจองห้องพัก

เพื่อเป็นตัวอย่างของกิจการที่ได้สร้างความแตกต่างในตัวมันเองแล้ว โยชิยามะยกตัวอย่างเป็น Ascott Marunouchi Tokyo ที่อยู่ใจกลางของเขต Otemachi มันมีการบริการอพาร์ตเมนท์ที่หรูหราสำหรับครอบครัวที่มีฐานะจากต่างประเทศเพื่อมาพักระยะยาว กิจการนั้นเปิดเมื่อเดือนเมษายน และห้องพักแต่ละห้องนั้นมีห้องครัวและเครื่องซักผ้าในตัว

ความจริงเกี่ยวกับการล่าวาฬแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นระบุว่าการล่าวาฬเป็นประเพณีทางวัฒนธรรมที่มีมานานหลายศตวรรษ พวกเขาเชื่อว่าพวกเขามีสิทธิ์โดยธรรมชาติที่จะสืบสานวัฒนธรรมนี้ต่อไป

แต่มันเป็นประเพณีได้ยังไง?

มันมีหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นที่ไม่สุงสิงกับผู้คนอยู่สองสามหมู่บ้านที่เคยฆ่าวาฬในอดีต แต่ญี่ปุ่นในขณะนั้นนิยมล่าวาฬน้อยมากจนกระทั่งผู้ชายชื่อ จุระ โอกะ เดินทางไปที่นอร์เวย์ อะโซร์ส และดินแดนที่เพิ่งค้นพบในช่วงกลางของยุค 1890 เพื่อศึกษาการล่าวาฬ เขาได้เรียนรู้การล่าวาฬและซื้ออุปกรณ์การล่าวาฬจากชาวนอร์เวย์ ดังนั้นการค้าการตลาดเกี่ยวกับการล่าวาฬในญี่ปุ่นจึงเริ่มขึ้นในปี 1898 ยาวนานหลังจากอุตสาหกรรมได้ก่อตั้งขึ้นในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา

ในปีแรก บริษัทล่าวาฬญี่ปุ่นบริษัทแรกคือ โฮเกอิ กุมิ ด้วยเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ชื่อว่า ไซไก มารุ ได้ฆ่าวาฬไปจำนวนทั้งหมด 3 ตัว นักแทงฉมวกและลูกเรือเป็นชาวนอร์เวย์ บริษัทนั้นเจ๊ง โอกะเลยเริ่มก่อตั้บริษัทใหม่ในชื่อว่า นิฮอน เอ็นโย เกียวเกียว เค.เค. ในวันที่ 20 กรกฎาคม 1899 ในยามากุชิ และเป็นอีกครั้งที่บริษัทจ้างชาวนอร์เวย์ในตำแหน่งนักแทงฉมวกและลูกเรือ

ต่อมานอร์เวย์ได้รู้สึกเสียใจที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ญี่ปุ่นเพื่อเรียนรู้การล่าวาฬ หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้เขียนทำนายไว้ว่า “เมื่อไหร่ก็ตามที่ญี่ปุ่นได้ปรากฏตัวในการล่าวาฬครั้งใดๆ ชาวนอร์เวย์จะต้องถูกเนรเทศทันที!”

บริษัทล่าวาฬอื่นๆเริ่มถือกำเนิดขึ้นและล้มเหลวลง แต่ในปี 1908 บริษัท นิฮอน โฮเกอิเกียว ซุอิซาน คุมิอาอิ ได้ก่อตั้งขึ้นแต่อย่างไรก็ตามถูกรู้จักกันในชื่อ สมาคมการล่าวาฬในญี่ปุ่นโดยมี จุระ โอกะ เป็นประธานคนแรก สมาคมนี้ในปี 1908 มีบริษัทเข้าร่วมด้วย 12 บริษัท และมีจำนวนเรือล่าวาฬทั้งหมด 28 ลำ ได้ฆ่าวาฬไปทั้งหมด 1,312 ตัวในปีนั้น ฆ่าเฉลี่ยของการฆ่าวาฬใน 25 ปีต่อมาน่าจะอยู่ราวๆ 1,500 ตัว

โอกะเป็นผู้ที่โหดเหี้ยมที่ได้กระทำต่อวาฬอย่างกับฮิตเลอร์ที่ได้ปฏิบัติต่อชาวยิว เขาได้คุยโวไว้ในปี 1910 ว่า “ผมเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าเราจะกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ล่าวาฬที่ใหญ่ที่สุดในโลก วันนั้นจะมาถึงเมื่อเราได้ยินว่าวาฬนั้นถูกจับที่แถบอาร์กติคในตอนเช้าและในตอนเย็นว่าวาฬนั้นถูกล่าที่แอนตาร์กติค”

นักล่าวาฬชาวญี่ปุ่นที่ปฏิบัติการระหว่าง ญีปุ่นและเกาหลีนั้น ตกเป็นผู้รับผิดชอบในการทำให้ประชากรวาฬสีเงินนั้นลดลงแทบจะสูญพันธุ์ โดยในปี 1915 เลหือประชากรวาฬชนิดอยู่เพียง 150 ตัวเท่านั้น

นอร์เวย์ บริเตน เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี เป็นประเทศที่ล่าวาฬกันเป็นล่ำเป็นสันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาไล่ล่า และฆ่าวาฬกันอย่างขาดสำนึกอนุรักษ์ ช่วงปี 1930 เป็นช่วงที่มีการล่าและสังหารวาฬกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ในปี 1937 วาฬสีน้ำเงินกว่า 37,438 ตัวถูกฆ่าตายในมหาสมุทรทางใต้ ประเทศญี่ปุ่นทำการส่งเรือลำแรกของพวกเขาลงแล่นในน่านน้ำแอนตาร์กติกาเมื่อปี 1935 กำไรจากการค้าน้ำมันวาฬ ช่วยในเรื่องการเงินของประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการทุนเพื่อไปบุกยึดแมนจูเรีย และประเทศจีนได้เป็นอย่างดี นับแค่ปี 1930 เพียงอย่างเดียว ก็มีวาฬถูกสังหารไปกว่า 55,000 ตัวแล้ว

เนื่องจากจำนวนวาฬที่ถูกฆ่าเริ่มมากเกินกว่าจะยอมรับได้ อนุสัญญาเจนีวาเพื่อควบคุมการล่าวาฬจึงเป็นที่ยอมรับในปี 1935 กระนั้น เยอรมนีและญี่ปุ่นกลับปฎิเสธที่จะลงนาม ปฏิเสธที่จะล่าวาฬตามที่กำหนด และกลายเป็นสองประเทศแรกที่ล่าวาฬกันอย่างนอกกฏหมาย ในปี 1939 เยอรมนีและญี่ปุ่น ได้ครอบครองการล่าวาฬมากถึง 30% ของจำนวนวาฬทั้งโลก

อนุสัญญานี้ได้ประกาศให้เขตแอนตาร์กติกาเป็นเขตสงวนพันธุ์วาฬ และเรียกร้องให้มีการคุ้มครองวาฬหลังค่อมอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่หลายคนหวาดกลัวกันว่าใกล้จะสูญพันธุ์เต็มทีแล้ว

แม้จะทุ่มแรงไปให้กับการควบคุมการล่าวาฬมากขนาดไหน แต่วาฬกลับถูกฆ่าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า พร้อมกับจำนวนเรือที่ออกล่าวาฬอย่างผิดกฏหมายก็เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเช่นกัน

เป็นโชคดีของวาฬที่ในปี 1939 เผ่าพันธุ์มนุษย์กลับหันมาฆ่ากันเอง ถือได้ว่าเป็นข้อแก้ตัวให้กับประเทศที่ล่าวาฬกันอย่างหนักมาเป็นเวลา 6 ปี หลังสงครามจบลง แม้กระทั่งประเทศล่าวาฬก็เริ่มมองย้อนกลับไปถึงหายนะที่พวกเขาได้กระทำต่อพวกวาฬในปี 1930 และคณะกรรมาธิการวาฬนานาชาติ (IWC) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันอุตสาหกรรมจากการทำลายตัวเอง

สงครามถือเป็นมาตรการอนุรักษ์ที่สำคัญที่สุดในการยุติการสังหาร หนึ่งในสามของเรื่อล่าวาฬทั้งหมดถูกทำลายลง แต่การล่าวาฬยังคงดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 1944 -1945 วาฬ 6,000 ตัวถูกฆ่า และจำนวนดังกลาวจะเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจบสงคราม

ตามที่รัฐตรีต่างประเทศของอเมริกา คณบดี เอชสัน กล่าวไว้ในปี 1946 ว่า “หุ้นตลาดวาฬของโลกนั้น เป็นแหล่งข้อมูลระหว่างประเทศอย่างแท้จริง ไม่ได้เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือของกลุ่มชาติใดชาติหนึ่ง แต่มันเป็นเสาหลักของโลกทั้งใบ”

ปัญหาก็คือมันมีชาวอเมริกันคนหนึ่งที่มีความคิดและแบบแผนเป็นของตนเองในปี 1946 เขาเป็นโชกุนชาวอเมริกันของญี่ปุ่น เขาคือ นายพลดักลาส แม็คอาเทอร์

กองเรือล่าวาฬสมัยใหม่ของญี่ปุ่นจริงๆแล้วเป็นการจัดตั้งของสหรัฐอเมริกา ในปี 1946 นายพล ดักลาส แม็คอาเทอร์ เสนอการจัดตั้งกองเรือล่าวาฬเพื่อป้องกันโปรตีนสำหรับคนญี่ปุ่นที่ถูกจับกุม เขาทำแบบนั้นเพื่อตัดต้นทุนของสหรัฐอเมริกาที่ใช้ในการขนส่งเสบียงอาหารมายังญี่ปุ่นหลังสงครามโลก

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1946 แม็คอาเทอร์ลงนามในคำสั่งอนุญาตให้เรือโรงงานสองลำและเรือจับปลาสิบสองลำเริ่มการล่าวาฬในช่วงแอนตาร์กติกในช่วงปี 1946-1947 ได้

ข้อตกลงคือญี่ปุ่นจะได้เนื้อวาฬไปและส่งน้ำมันวาฬไปให้กับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวน 800,000 เหรียญสำหรับเรือและได้รับน้ำมันวาฬมูลค่ามากกว่า 4 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ

เรือท้งสองลำที่ถูกส่งไปยังมหาสมุทรแอนตาร์กติกคือ ฮาชิดาเตะ มารุ และ นิชิน มารุ

การล่าวาฬในครั้งแรกนี้เป็นคำสั่งของแม็คอาเทอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก IWC ที่เพิ่งถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่

เรือนั้นบรรจุผู้สังเกตุการณ์ทั้งชาวอเมริกันและชาวออสเตรเลีย แต่พวกเขาไม่ใช่กลุ่มที่ผักดันใช้กฏระเบียบด้านการอนุรักษ์ ผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งชื่อ เดวิด อาร์. แม็คคลากเคน ผู้เขียนหนังสือ สี่เดือนบนเรือล่าวาฬญี่ปุ่น ยิงนกอัลบาทรอสบนดาดฟ้าของเรือ ฮาชิดาเตะ มารุ อยู่บ่อยๆ

เขาเขียนว่า “ในตอนที่ยิงครั้งที่สี่ของคลิปที่สองผมเด็ดปีกนกนั้นได้ ปีกขวาของนกตัวนั้นห้อยแกว่งไปแกว่งมา นกตัวนั้นมันยังไม่ตาย มันดูงุนงงสับสนเมื่อมันพยายามกระพือปีกข้างที่บาดเจ็บ มันสูญเสียการทรงตัวอย่างช้า ในที่สุดมันก็พุ่งลงน้ำและพยายามที่จะบินขึ้นอีก แต่มันไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ความตายช้าๆจากความอดอยากรอเจ้าเหยื่อที่น่าสงสารอยู่ ผมไม่ได้ยิงอีกเลยทั้งวันนับจากครั้งนั้นเพราะผมพึงพอใจมาก”

แม็คคลากเคนยังจับเพนกวินได้อีกด้วยและตั้งชื่อว่า เพนนี และเก็บไว้เป็นสิ่งที่ให้ความบันเทิงจนกระทั่งเพนกวินนั้นขาดอาหารจนตาย เขาเคยพยายามที่จะบังคับให้เพนกวินกินอาหารและอธิบายว่า “อย่างกับการจลาจลที่ต้องเฝ้าระวัง”

แม็คคลากเคนถลกหนังเพนนีและเล็บของมันถูกยึดทรัพย์โดยศุลกากรสหรัฐเมื่อเขากลับมายังสหรัฐ พวกเขาอนุญาตให้แม็คคลากเคนเก็บตัวอ่อนวาฬไว้นขวดโหลดองได้

เขาไม่ค่อยมีอะไรจะพูดเกี่ยวกับการฆ่าวาฬมากนักนอกจากเรื่องที่เขาเฝ้าดูวาฬฟินที่ถูกฉมวกแทง ลากเรือน้ำหนัก 350 ตัน ด้วยความเร็ว 4 น็อต จนวาฬนั้นอ่อนกำลังลงและพวกเขาแทงฉมวกอีกทีเพื่อฆ่ามัน

ญี่ปุ่นฆ่าวาฬโดยไม่ผ่านการตรวจสอบและกฎระเบียบของ IWC จนกระทั่งพวกเขาตกลงที่จะเข้าร่วมในปี 1951 ในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาได้กำไรอย่างมหาศาลจากการขายน้ำมันวาฬอย่างผิดกฎหมาย

ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐ ญี่ปุ่นกลายเป็นปฏิบัติการล่าวาฬที่ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วงปี 1970

บทความบน New Zealand Herald เมื่อเร็วๆนี้ที่ถูกเขียนโดย ลินคอร์น แทน บอกว่า การกินเนื้อวาฬนั้นเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น เขาเขียนว่า “ดังนั้นการโจมตีการล่าวาฬก็เปรียบเสมือนการโจมตีวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วย”

นี้เป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ที่ชาวญี่ปุ่นกำลังใช้อยู่ แต่มันไม่ใช่เรื่องที่ยุติธรรมสักเท่าไหร่ การล่าวาฬได้รับการฝึกฝนขึ้นโดยหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ไม่กี่แห่งย้อนกลับไปในสมัยศตวรรษที่ 16 แต่การล่าวาฬแบบดั้งเดิมนี้เป็นการล่าขนาดเล็ก เป็นการล่าโดยวิธีการลากแหออกจากฝั่ง จำนวนชาวญี่ปุ่นน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ที่มีส่วนในการล่าวาฬด้วยการเป็นผู้บริโภคจนถึงปี 1908 และน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ที่มีส่วนในการเป็นผู้บริโภคจนถึงปี 1930 ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นจำนวนน้อยเท่านั้นที่บริโภคเนื้อวาฬ

ชาวจีนไม่มีวันลืมเลยว่ามันเป็นเพราะกำไรที่งอกงามของการขายน้ำมันวาฬโดยญี่ปุ่นที่ทำให้มีทุนสำรองในการบุกรุกแมนจูเรีย จีน และนำไปสู่การข่มขืนที่นานกิง

การล่าวาฬสมัยใหม่เป็นการปฏิบัติที่ยืมมาจากชาวนอร์เวย์เนื่องจากนักธุรกิจที่โหดเหี้ยมชื่อว่า จุระ โอกะ ซึ่งจ้างชาวนอร์เวย์และซื้ออุปกรณ์นอร์เวย์มาเพื่อก่อร่างสร้างการล่าวาฬเชิงพาณิชย์

ปัจจุบันนี้ ญี่ปุ่นกำลังพยายามฆ่าวาฬมากขึ้นเรื่อยๆ โฆษกของอุตสาหกรรมการล่าวาฬของชาวญี่ปุ่นชื่อว่า โจจิ โมริชิตะ ได้แถลงการณ์ต่อสาธารณะว่า การล่าวาฬไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินหรือความภาคภูมิใจ โมริชิตะให้คำปฏิญาณว่าญี่ปุ่นจะไม่ยอมจำนนต่อมุมมองการต่อต้านการล่าวาฬจากคนที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น

การฆ่าวาฬอย่างทารุณนั้นกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ ญี่ปุ่นเป็นที่จดจำด้วยเลือดและการฆ่าอยู่แทบทุกครั้ง จากการกุดหัวโดยซามูไรที่กระทำต่อชาวบ้านบริสุทธิ์ไปจนถึงฝูงบินพลีชีพฆ่าตัวตายกามิกาเซะ ความรุนแรงและการทำร้ายตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาโดยตลอด

การฆ่าอย่างจงใจนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับวาฬ แต่เกิดขึ้นกับโลมาบนชายหาดญี่ปุ่นซึ่งเกือบจะกลายเป็นพิธีกรรมทางศาสนา การฆ่าเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนานี้แหละที่เป็นวัฒนธรรมสืบต่อกันมา

“เราฆ่า เราจึงดำรงอยู่” คือวิธีที่ดีที่สุดในการมองลักษณะเฉพาะนี้และมันไม่ใช่มุมมองที่ดีต่อสุขภาพเลย ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นได้พิสูจน์แล้วว่าไฟและเลือดเป็นมุมองที่ไม่ดีได้อย่างไร

ชาวญี่ปุ่นบอกว่าเราต้องเคารพวัฒนธรรมของเราเอง ผมไม่สามารถตอบโต้ด้วยการถามว่าทำไมได้ อะไรคือวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เราต้องเคารพ เราสามารถเลือกที่จะเคารพงานเลี้ยงน้ำชาอย่างมีสิทธิ์ได้ เราสามารถเลือกที่จะเคารพโอริกามิ อิเกบานะ บอนไซ การแสดงโนะ ซูโม่ เซ็น และลัทธิชินโต

เรายังสามารถเลือกที่จะไม่เคารพ เซ็ปปุกุ ความไม่เท่าเทียมกันทางชนชั้น ฝูงบินพลีชีพกามิกาเซะ และการสังหารวาฬและโลมา

ไม่มีชาวตะวันตก ชาวจีน อินเดีย หรือ อาหรับ ผู้ใดที่อยู่ภายใต้ทางวัฒนธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อยอมรับการสังหารที่ผิดมนุษย์และกีฬาละเลงเลือดนี้ มนุษย์ทุกๆคนมีสิทธิ์ที่จะไม่เคารพการฆ่าไม่ว่าด้วยรูปแบบใดๆโดยปราศจากการถูกกล่าวโทษและการใส่ความ

กลุ่มปกป้องการล่าวาฬของญี่ปุ่นได้ใส่ร้ายกล่าวหาว่ากลุ่มที่ปกป้องวาฬนั้นเป็นพวกเหยียดสีผิวเพราะต่อต้านการฆ่าวาฬ การต่อต้านการฆ่าทุกๆอย่างไม่สามารถถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการเหยียดสีผิวหรือแบ่งแยกชนชั้นได้ มันไม่มีเหตุผลทางเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมสำหรับการฆ่า ไม่มีเลย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำการใดๆที่ไม่ใช่ และไม่เคยเป็น วัฒนธรรม