มัตสึริ, งานเทศกาลญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงต่างๆ

มันมีงานเทศกาลหรือที่เรียกว่า มัตสึริ (Matsuri) หลากหลายมากในญี่ปุ่นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่งานเทศกาลทางศาสนาไปจนถึงงานเทศกาลการเก็บเกี่ยว คุณจะเจอกับสังคมคนท้องถิ่นเฉลิมฉลองกันในงานพวกนี้ งานเฉลิมฉลองบางงานได้รับการสนับสนุนโดยศาลเจ้าหรือวัดในพื้นที่นั้นๆ การจัดเตรียมงานเทศกาลนั้นเริ่มขึ้นเป็นหลายสัปดาห์ก่อนถึงวันงานและมีการออกแบบตกแต่งงานอย่างละเมียดละไม การเดินขบวนพาเหรดที่น่าตื่นตา เพลงพื้นบ้านและการเต้นรำ คืออีกสองสามตัวอย่างที่คุณจะได้เจอในหลายๆเมืองทั่วทั้งญี่ปุ่น

เทศกาลหิมะซัปโปะโระ, ฮ็อกไกโด

เทศกาลหิมะซัปโปะโระหรือ ซัปโปะโระ ยูกิ มัตสึริ เป็นงานแสดงยาวหนึ่งอาทิตย์ แสดงปติมากรรมหิมะขนาดใหญ่ น้ำแข็งที่ถูกแกะสลักเป็นร้อยๆอัน และมีการแสดงคอนเสิร์ตตลอดทั้งงานอีกด้วย

สถานที่: จัดงานบนพื้นที่สามส่วนคือ สวนสาธารณะโอโดริ ย่านการค้าซูซูกิโน และโดมในซัปโปะโระ

วันที่: 6 กุมภาพันธ์ ถึง 12 กุมภาพันธ์

เทศกาลอะโอโมริ เนบุตะ, อะโอโมริ

คุณจะเห็นโคมไฟแสงสีเนบุตะที่ทำจากกระดาษเปเปอร์มาเช่ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบจากโรงละครคาบูกิอันโด่งดัง มันยังมีตัวละครจากประวัติศาตร์และตัวละครที่ลึกลับซึ่งเป็นตัวดึงดูดความสนใจหลักๆของงานเทศกาลนี้ ร่วมไปกับขบวนโคมไฟด้วยเครื่องดนตรีฟลุตและกลองไทโกะ และนักเต้นอีกกว่าร้อยคนที่รู้จักในนาม ฮาเนโตะ (Haneto) ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าร่วมงานได้ตราบใดที่สวมใส่ชุดเต้นฮาเนโตะ และอย่าลืมเข้าไปร่วมวงกับนักเต้นขณะที่เฉลิมฉลองงานกันอยู่ด้วยล่ะ มันเป็นงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคโตโฮคุและดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นล้านๆคนต่อปี

สถานที่: เมืองต่างๆในจังหวัดอะโอโมริ

วันที่: 2 – 7 สิงหาคมโดยประมาณ

การเข้าร่วมงาน: เดินทางจากโตเกียวโดยใช้สายรถไฟ JR Tohoku bullet train ไปยังสถานีชินอะโอโมริ เปลี่ยนเส้นทางจากรถไฟเป็นรถไฟ JR เพื่อไปยังสถานีอะโอโมริ

เทศกาลคันดะ, โตเกียว

เทศกาลคันดะเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดในโตเกียวและเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่ดีที่สุดในการเป็นสัญลักษณ์ของยุคเอโดะ มันถูกจัดในทุกๆปีเลขคี่ (ตัวอย่างเช่นปี 2015, 2017) เทศกาลคันดะคืองานเทศกาลของศาลเจ้า คันดะ เมียวจิน เพื่อเป็นเกียรติให้กับเทพเจ้า ไดโคคุเค็น (หนึ่งในเทพเจ้าทั้งเจ็ดแห่งโชคและสิ่งดีๆ) อีบิซุ (เทพเจ้าแห่งการประมงและโชคลาภ) และ ไทระ โนะ มาวาคาโดะ ขุนนางของศตวรรษที่ 10 ซึ่งถูกเคารพบูชาและยกย่องประหนึ่งเป็นเทพเจ้า ศาลเจ้าแบบเคลื่อนที่ได้ถูกพาเดินขบวนไปตามท้องถนนเพื่อนำพาสิ่งดีๆและให้พรแก่ประชากรท้องที่ นอกจากนี้ยังมีนักดนตรี นักเต้น อีกเป็นร้อยๆ

สถานที่: ศาลเจ้า คันดะ เมียวจิน

วันที่: วันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ใกล้วันที่ 15 พฤษภาคมที่สุด และทุกๆปีเลขคี่

งานเทศกาลแห่กลางคืน (ชิชิบุ โยมัตสุริ), ไซตามะ

ด้วยโคมไฟรื่นเริง ศาลเจ้า (Mikoshi) และการแสดงพลุไฟ เทศกาลงานกลางคืนชิชิบุมีขึ้นสำหรับศาลเจ้าชิชิบุและเป็นอีกหนึ่งเทศกาลลอยโคมลูกโป่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น โคมถูกจุดไฟด้วยตะเกียงและถูกประดับด้วยสีสว่างมากมาย โคมไฟบางอันอาจกลายเป็นเวทีแสดงละครแบบคาบูกิและมีการแสดงละครนั้นตลอดเทศกาล เทศกาลจบลงด้วยโคมไฟทุกอันเรียงแถวกันที่ศาลากลางและตามมาด้วยการแสดงพลุอีกกว่าสองชั่วโมง

สถานที่: ศาลเจ้าชิชิบุ เมืองชิชิบุ จังหวัดไซตามะ จากสถานีอุเอโนะในโตเกียว ใช้เส้นทางรถไฟ JR ไปยังสถานีคุมะกายะ จากนั้นเปลี่ยนเส้นทางไปยังระบบรถไฟชิชิบุเพื่อไปยังสถานีชิชิบุ

วันที่: 2-3 เดือนธันวาคม

 

เทศกาลทากายามะ, กิฟุ

เทศกาลทาคายามะถูกจัดขึ้นในทุกๆฤดูใบไม้ผลิ (เป็นเทศกาลของศาลเจ้าฮิเอะ สวดภาวนาเพื่อการเก็บเกี่ยวที่ดี) และฤดูใบไม้ร่วง (เทศกาลของศาลเจ้าฮะจิมัน) มันเป็นเทศกาลที่มีโคมไฟที่สวยงามที่สุดเทียบเท่ากับงานเทศกาลกิออน และ ชิชิบุ โยมัตสุริ เทศกาลนี้เป็นเทศกาลดูโคมไฟที่สวยงามโดยมีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 โดยโคมไฟแต่ละอันถูกตกแต่งอย่างสวยงามแสดงให้เห็นถึงงานฝีมือที่สุดยอดโดยศิลปินของเมืองกิดะ มันต้องเป็นที่จดจำไว้ว่าโคมไฟ (ยาไต) ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมโดยรัฐบาลแห่งชาติ

สถานที่: เมืองทากายะมะ จังหวัดกิฟุ

วันที่: ในฤดูใบไม้ผลิ (วันที่ 14-15 เมษายน) และในฤดูใบไม้ร่วง (วันที่ 9-10 ตุลาคม)

เทศกาลทานาบาตะ, มิยากิ

ต้นกำเนิดของเทศกาลทานาบาตะคือการสวดภาวนาเพื่อการเก็บเกี่ยวที่ดี ต่อมาในฤดูใบ้ไม้ร่วงกลายมาจากพิธีชำระล้างของญี่ปุ่นในสมัยโบราณที่จัดขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม และเกี่ยวข้องกับเทศกาลอุบอน หลังจากการเฉลิมฉลองของการพบกันระหว่าง เทพเจ้าโอริฮิเมะ (เจ้าหญิงแห่งการถักทอ) และเทพเจ้าฮิโกโบชิ (จ่าฝูงของวัว)  จากจีนในศตวรรษที่ 8 เทศกาลทั้งสองนั้นผสมผสานรวมกันและเฉลิมฉลองเป็นเทศกาลหนึ่งเดียว เทศกาลทานาบาตะสมัยใหม่เป็นที่รู้กันว่ากลายมาจากเทศกาลดวงดาวแบบดั้งเดิมของจีน และเทศกาลนี้ยังเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นหนึ่งในสามเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ในแถบภูมิภาคโตโฮกุ สิ่งที่โดดเด่นหลักๆของเทศกาลนี้คือการประดับตกแต่งแบบทานาบาตะที่สวยงามและสีสันสดใส สามารถพบเจอได้ตลอดที่เซนไดและห้างสรรพสินค้าใกล้เคียง

สถานที่: เมืองเซนได จังหวัดมิยากิ ใกล้กับสถานีรถไฟ JR เซนได

วันที่: 6-8 สิงหาคม

 

เทศกาลกิออน, เกียวโต

เทศกาลกิออนคือเทศกาลที่จัดงานยาวทั้งเดือนของศาลเจ้ายาซากะ จัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม โดยดั้งเดิมนั้นเริ่มจัดขึ้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อกำจัดโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วญี่ปุ่นในปี 869 สิ่งหลักๆของเทศกาลนี้คือขบวนโคมไฟที่ยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่า ยามาโฮโกะ จุนโกะ (ถูกขึ้นทะเบียนว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติโดยองค์กร UNESCO) ขบวนโคมไฟเริ่มขึ้นในวันที่ 17 และ 24 เดือนกรกฎาคม บนถนน ชิโจ คาวารามาชิ และ ถนน โออิเกะ

สถานที่: บริเวณชิโจ คาราซุมาอิ

วันที่: ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม

เทศกาลอาโออิ, เกียวโต

มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ เทศกาลคาโมะ มันเป็นเทศกาลสำหรับทั้งศาลเจ้าชิโมกาโมะและศาลเจ้าคามิกาโมะในเกียวโต ในปัจจุบันเทศกาลนี้เป็นที่รู้จักจากขบวนพาเหรดที่สวยสง่าด้วยผู้ร่วมขบวนที่แต่งตัวในชุดคลาสสิคในยุคสมัยเฮอัน

สถานที่: เกียวโต

การเข้าร่วมงาน: ขบวนพาเหรดแยกตัวออกจากพระราชวังจักรพรรดิ ผ่านทางศาลเจ้าชิโม กาโมะและไปสิ้นสุดที่ศาลเจ้าคามิกาโมะ

วันที่: วันที่ 15 เดือนพฤษภาคม

 

เทศกาลเท็นชิน, โอซาก้า

เทศกาลเท็นชินเป็นเทศกาลที่ใหญ่และเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น มันเป็นเทศกาลของศาลเจ้าเท็นมันกุในโอซาก้าและเป็นเทศกาลที่ถวายเครื่องบรรณาการแก่ ซุกาวาระ โนะ มิชิซาเนะ (เทพเจ้าแห่งการเรียนรู้และศิลปะ) เทศกาลนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือขบวนพาเหรดภาคพื้นดินซึ่งเข้าร่วมโดยคนท้องที่เป็นพันๆคนรวมถึงมือกลอง นักเต้น และนักแสดงที่สวมใส่ชุดพื้นเมือง ถูกจัดขึ้นบนสถานที่บริเวณแม่น้ำโอกาว่า ส่วนที่สองในตอนกลางคืน ผู้เข้าร่วมและศาลเจ้าแบบเคลื่อนที่ได้จะย้ายไปที่เรือเป็นขบวนทางน้ำและมีการแสดงพลุ

สถานที่: ศาลเจ้าโอซาก้า เท็นมันกุ ใกล้กับสถานีโอซาก้า เท็นมันกุ

วันที่: 24-25 กรกฎาคม

เทศกาลนาดะ โนะ เค็นคะ, เฮียวโกะ

เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นเทศกาลแห่งการต่อสู้และเป็นหนึ่งในเทศกาลที่โด่งดังและดุดันที่สุดในญี่ปุ่น โคมไฟยาไตเป็นสัญลักษณ์ทั้งเจ็ดเขตของฮิเมจิมารวมตัวกันและเคารพบูชากันที่ศาลเจ้ามัตซึบาระ ฮาชิมัน ร่วมโดยขบวนเดินเท้า ดนตรี และการแสดงชุดสีสันสดใส ในวันที่สอง มิโกชิ หรือ ศาลเจ้าเคลื่อนที่ได้ขนาดใหญ่ถูกพาเคลื่อนออกมาโดยตัวแทนของแต่ละเขต (เฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่จะเข้าร่วมได้) ตัวแทนเหล่านั้นเข้าสู่ลานประลองและเริ่มต่อสู้กัน มันมีกลุ่มคนเป็นพันๆมารวมตัวกันบนเนินเขาเพื่อเป็นสักขีพยานในงานครั้งนี้ มีความเชื่อกันว่าเมื่อผ่านการกระทำตามหลักศาสนาครั้งนี้ หมู่บ้านที่เข้าร่วมด้วยจะได้รับการอวยพรจากพระเจ้าเพื่อการเก็บเกี่ยวและสิ่งที่ดี

สถานที่: ภูเขาโอตาบิและศาลเจ้ามัตซึบาระ ฮาจิมัน

การเข้าร่วม: จากสถานีฮิเมจิ โดยสารรถไฟฟ้าไปยังสถานีชิระฮะมะโนมิยะหรือสถานี เมกะ เดินเท้าราวๆ 10-15 นาทีไปยังศาลเจ้าหรือภูเขาโอตาบิ

วันที่: 14-15 ตุลาคม

 

เทศกาลไซไดจิ ไอยู (ฮาดากะ มันสึริ), โอกายาม่า

ไซไดจิ ไอยู มัตสึริ หรือรู้จักอีกชื่อหนึ่งคือ ฮาดากะ มัตสึริ คือหนึ่งในสามเทศกาลที่พิศดารที่สุดในญี่ปุ่นและมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 500 ปี

ผู้ชายราวๆ 10,000 คนนุ่งแค่ผ้าเตี่ยวฟุนโดชิแบบดั้งเดิม ชำละล้างร่างกายด้วยน้ำเย็นๆ ก่อนที่จะมุ่งมั่นฝ่าฟันกันแย่งตะเกียบศักดิ์สิทธิ์ (ชินจิ) ที่ถูกโยนลงมาจากข้างบนวัด ใครก็ตามที่ได้ตะเกียบศักดิ์สิทธิ์ไปจะได้รับการนับถือว่าเป็นคนที่โชคดี และได้รับการอวยพรให้โชคดีและมีแต่ความสุขตลอดทั้งปี

สถานที่: วัดไซไดจิ, โอกายาม่า

การเข้าร่วม: เดินเท้าจากสถานีรถไฟ JR ไซไดจิ

วันที่: วันเสาร์ที่สามของเดือนกุมภาพันธ์

เทศกาลอาวะ โอโดริ, โทกุชิมะ

เทศกาลเต้นรำสำหรับการกลับมาของวิญญารบรรพบุรษ อาวะ โอโดริเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยทั่วประเทศด้วยนักเต้นกว่าร้อยคน ซึ่งเรียกว่า เร็น (Ren) แข่งขันกันแสดงการเต้น เทศกาลนั้นมีสีสันสวยงาม เต็มไปด้วยความสนุกสนาน ดนตรีที่เล่นกันสดๆ และยังมีนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมด้วย สิ่งดึงดูดความสนใจหลักๆเริ่มต้นที่เวลา 18:00 เมื่อกลุ่มนักเต้นเริ่มทำการแสดงในหลายๆส่วนของเมืองโทกุชิม่าจนถึงเวลา 22:30 มีด้วยกันเจ็ดเวทีตั้งอยู่โดยรอบพื้นที่เทศกาล โดยมีด้วยกันสองตัวเลือกคือ ที่นั่งที่สำรองไว้ (โดยมีค่าบริการที่ไม่แพงมาก) หรือ ที่นั่งปกติที่ไม่ต้องเสียค่าบริการ

สถานที่: ใกล้กับสถานีรถไฟ JR โทกุชิมะ รายละเอียดเพิ่มเติมที่

การเข้าร่วมงาน: เดินเท้าแค่สิบนาทีจากสถานีรถไฟ JR ไซไดจิ

วันที่: วันที่ 12-15 สิงหาคม

เทศกาลฮากาตะ กิออน ยามากาสะ, ฟุกุโอกะ

เทศกาลฮากาตะ กิออน ยามากาสะ คือพิธีกรรมทางศาสนาชินโตที่อุทิศให้กับศาลเจ้าคุชิดะ ศาลเจ้าขนาดใหญ่ที่เป็นผู้ปกครองของฮากาตะ และเป็นหนึ่งในเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดของคิวชู เป็นที่เชื่อกันว่าเทศกาลนี้ได้พัฒนามาจากตำนานในยุคศตวรรษที่ 12 ว่านักบวชศาสนาพุทธถูกแบกโดยผู้คนในเมือง พรมน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อขจัดโรคภัยที่ระบาดทั่วเมือง มันถูกอ้างอิงว่าเป็นสถานที่ทางวัฒนธรรมซึ่งจับต้องไม่ได้ที่สำคัญพร้อมด้วยประวัติศาสตร์ความเป็นมาและประเพณี มีโคมไฟ (ยามากาสะ) ด้วยกันสองแบบที่ถูกใช้ในเทศกาลนี้ คือ กาซาริยามะ (โคมไฟตกแต่ง) และ กากิยามะ (โคมไฟลอย) โคมไฟเล่านี้ถูกทำขึ้นโดยย่านที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันในฟุกุโอกะ สิ่งที่โดนเด่นของเทศกาลนี้คือในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 15 กรกฎาคม เมื่อทีม (นากาเระ) ทั้งเจ็ดทีมจากเจ็ดพื้นที่ในฮากาตะมารวมตัวกันพร้อมด้วยโคมไฟกากิยามะที่ศาลเจ้าคุชิดะ จินจะ และแข่งกันแบกโคมไฟบนไหล่

สถานที่: ศาลเจ้าคุชิดะ จินจะ, ฮากาตะ, ฟุกุโอกะ

วันที่: ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือนกรกฎาคม

เทศกาลคารัตสึ คุนชิ, ซากะ

เทศกาลคารัตสึ คุนชิ เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในฤดูไม้ใบร่วงของศาลเจ้าคารัตสึ คุนชิ ซึ่งมีโคมไฟ (Hikiyama) ขนาดใหญ่ทั้ง 14 อัน ที่ถูกทำจากกระดาษวาชินับร้อยๆแผ่น ผ้าลินิน และไม้ และถูกปกคลุมด้วยน้ำมันขัดเงาหลากหลายแบบ เสร็จสิ้นขั้นตอนการทำด้วยใบไม้ทองใบไม้เงิน มันเป็นสถานที่ทางวัฒนธรรมพื้นเมืองซึ่งจับต้องไม่ได้ที่สำคัญซึ่งถูกจัดตั้งโดยรัฐบาลญี่ปุ่น  มันเป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากในคิวชูที่รวบรวมจินตนาการของผู้ชมเป็นจำนวนมากและมีจำนวนผู้เข้าร่วมที่เยอะมากเช่นกัน จุดเด่นของเทศกาลนี้คือ โอตาบิโช ชินโกะ ถูกจัดขึ้นในวันที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน วันที่โคมไฟ 14 อันถูกพาถูกเดินขบวนและถูกลากไปตลอดทั่วทั้งเมือง

วันที่: 2 ถึง 4 เดือนพฤศจิกายน