ภาวะวิกฤติห้องพักโรงแรมในญี่ปุ่นอาจมีมากจนเกินความจำเป็น

การสำรวจครั้งใหม่พบว่ามีห้องพักเพิ่มขึ้น 65,000 ห้องภายในปี 2020

ที่โตเกียว ญี่ปุ่น กำลังกลัดกลุ้มกับการที่ห้องพักโรงแรมไม่มีเหลือสำรองไว้เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่พุ่งสูงขึ้นและเป็นเมืองหลวงที่เตรียมการเพื่อจะเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกปี 2020.

แต่ทั่วทั้งประเทศได้ติดป้ายไฟว่า “ขอโทษที ไม่มีห้องว่างแล้ว” หรือเปล่าล่ะ?

การสำรวจล่าสุดโดยบริษัทให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่โตเกียว CBRE กล่าวว่า ญี่ปุ่นไม่มีอะไรต้องเป็นกังวล มันแสดงให้เห็นว่าในปี 2020 หรือราวๆนั้น แปดเมืองใหญ่จะเจอกับการเพิ่มขึ้นโดยรวมของห้องพักประมาณ 65,000 ห้อง เพิ่มขึ้น 26 เปอเซ็นต์จากระดับปัจจุบัน

สิ่งนี้คงจะมากพอเพื่อป้องกันการขาดแคลนใดๆของโอลิมปิก

อันที่จริง การที่เพิ่มห้องใหม่เข้ามาทั้งหมดอาจทำให้เสียของก็ได้

ตามการสำรวจ โตเกียวคาดไว้ว่าจะมีห้องพักอีก 25,000 ห้องภายในปี 2020 หรือหลังจากนั้นไม่นาน คิดเป็นเพิ่มขึ้นอีก 25.6 เปอเซ็นต์ จำนวนห้องพักในโอซาก้าคาดไว้ว่าจะเติบโตขึ้นถึง 18,000 ห้องในเวลานั้น หรือเพิ่มขึ้นอีก 34.9 เปอเซ็นต์

เกียวโตคาดคะเนไว้ว่าจะเพิ่มห้องอีก 8,000 ห้อง คิดเป็น 36.1 เปอเซ็นต์ อ้างอิงถึงการสำรวจ

ห้องพักในเมืองหลวงโบราณ สถานที่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวใหญ่ๆ กลายเป็นทรัพยากรช่วงสั้นๆ

ก่อนหน้านั้นไม่นาน สถาบันวิจัยมิซุโฮะประมาณการณ์ไว้ว่าโตเกียวจำเป็นต้องมีห้องพักเพิ่มขึ้นอีก 16,700 ห้องภายในปี 2016 เพื่อให้ทันกับความต้องการในปี 2020 สถาบันมิซุโฮะยังคงคาดการณ์อีกว่าโอซาก้าต้องการห้องพักเพิ่มอีก 13,300 ห้อง

อ้างถึงสถาบันการท่องเที่ยวแห่งชาติญี่ปุ่น การเข้ามาของชาวต่างชาติในญี่ปุ่นสร้างสถิติถึง 24 ล้าน คนในปี 2016 มันเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้บางโรงแรมเกือบเต็มตลอดปี

แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ที่จริงแล้ว อุตสาหกรรมกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนธุรกิจโรงแรมมากกว่า

และห้องพักส่วนใหญ่ที่จะถูกเพิ่มขึ้นในช่วงสองสามปีถัดไปถูกคาดหวังไว้ว่าจะอยู่ในธุรกิจโรงแรม เช่นตัวอย่าง APA Group ในญี่ปุ่น วางแผนไว้ว่าจะเปิดโรงแรมอีก 47 แห่ง ด้วยห้องพักรวมกันถึง 14,500 ห้องจนถึงปี 2020

ในโตเกียว โรงแรมหลายแห่งกำลังประสบกับอัตราการเข้าพักที่ซบเซา อัตราที่ Shibuya Excel Hotel Tokyu ลดลงถึง 88 เปอเซ็นต์ในปีงบประมาณ 2016

ขณะนี้ความกลัวของจำนวนปริมาณมากกำลังซัดสาดไปทั่วตลาดอสังหาริมทรัพย์โรงแรม

การซื้อขายโรงแรมเคยทำกำไรได้มากสุดในปี 2015 เมื่อการทำกำไรของโรงแรมก้าวกระโดด ขอขอขอบคุณนักท่องเที่ยวต่างชาติทุกคน

ยาซาโอคาซุ เทราดะ เจ้าหน้าที่อสังหาริมทรัพย์อาวุโสของผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ JLL กล่าวว่าหลายกองทุนเชื่อว่า “ตอนนี้แหละคือเวลาที่ต้องขจัด [กิจการโรงแรม] ออกจากภัยคุกคามของความไม่แน่นอนในอนาคตให้หมดไป”

นาโอกิ โยชิยามะ กรรมการบริษัทอาวุโสของ CBRE กล่าวว่าโรงแรมทั้งหลายจะต้องสร้างความแตกต่างให้แก่ตัวเองเพื่อเอาชนะการจองห้องพัก

เพื่อเป็นตัวอย่างของกิจการที่ได้สร้างความแตกต่างในตัวมันเองแล้ว โยชิยามะยกตัวอย่างเป็น Ascott Marunouchi Tokyo ที่อยู่ใจกลางของเขต Otemachi มันมีการบริการอพาร์ตเมนท์ที่หรูหราสำหรับครอบครัวที่มีฐานะจากต่างประเทศเพื่อมาพักระยะยาว กิจการนั้นเปิดเมื่อเดือนเมษายน และห้องพักแต่ละห้องนั้นมีห้องครัวและเครื่องซักผ้าในตัว