ด้านเศรษฐกิจ

การย้ายทางด่วนพิเศษ เมโทรโพลิแทน เอ็กซ์เพรสเวย์ ถูกมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาตัวเมืองให้ดีขึ้น

โตเกียว เมืองหลวงอันใหญ่โตของประเทศญี่ปุ่น กำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยแผนการจัดการทางด่วนที่อยู่เหนือหัวของสะพาน นิฮงบาชิ อันมีชื่อเสียง โครงการนี้เริ่มขึ้นหลังจากผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น ได้ออกมาประท้วงว่าการวางโครงสร้างของทางด่วนนั้น มันบดบังทัศนยภาพของสะพานจนหมดความสวยงาม

“สะพานนิฮงบาชิ เป็นสะพานสายหลักของญี่ปุ่น!!!” เคอิจิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินและการขนส่งกล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ “มันจะได้รับการจุติใหม่ เป็นสะพานที่คุณสามารถมองเห็นท้องฟ้าได้อย่างปลอดโปร่ง”

ภายใต้แผนงานนี้ การเคลื่อนย้ายจะดำเนินการหลังจากจบการแข่งขัน โตเกียว โอลิมปิก 2020 รวมไปถึงโครงการฟื้นฟูพื้นที่อื่นๆอีกด้วย

สะพานความยาว 49 เมตรนี้ ถือเป็นสินทรพย์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง เปรียบได้กับสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยเอโดะ และเป็นต้นสายให้กับ โกไคโดะ ถนนหลักห้าสายที่ลำเลียงผู้คนและสินค้าข้ามญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นๆ ทางด่วน เมโทรโพลิแทน เอ็กซ์เพรสเวย์ถูกสร้างยาว 6 เมตรเหนือนิฮงบาชิเพื่อเตรียมใช้ในงาน โตเกียว โอลิมปิก เมื่อปี 1964 บดบังทิวทัศน์เหนือสะพานไปเสียหมด ซึ่งผู้อาศัยในละแวกนั้น ทำการร้องขอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายต่อหลายครั้งแล้วว่าให้ย้ายทางด่วนนี้ลงใต้ดินเสีย

เมื่อสิ้นปี 2005 นายกรัฐมนตรี จูนิชิโร่ โคอิซุมิ แนะว่าให้ทำการปรับปรุงทัศนียภาพ มีการตั้งกลุ่มขึ้นมาหลายกลุ่ม มีกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “คืนท้องฟ้าให้กับนิฮงบาชิ” กลุ่มนี้รวมกันโดยมีแกนนำเป็น ฮิโรชิ โอคุดะ ที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นในเวลานั้น อีกกลุ่มชื่อ “การพัฒนาแบบบูรณาการของเมือง แม่น้ำ และถนน”

ตัวโครงการไม่ได้ถูกดำเนินอย่างจริงจัง แต่ยังมีการพูดคุยถกเถียงกันตลอดมา ในปี 2012 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงคมนาคมได้มีมติตกลงกันว่า  “ให้ดำเนินการฟื้นฟูทางด่วนเมโทรโพลิแทน รวมถึงเคลื่อนย้ายมันลงใต้ดินซะ”

ต่อมากลางเดือนกรกฎาคม เทศมนตรีเมืองชูโอะ สัญญาว่าจะรับมือกับการวางโครงสร้างใหม่ ทำให้มันเป็นรูปธรรมและสัมฤทธิ์ผล กระทรวงการคมนาคม ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการทางด่วนนี้ จะเป็นผู้กำหนดโครงสร้าง และส่วนต่างๆที่จะต้องเคลื่อนย้ายเอง ขณะที่ทางการโตเกียวก็ได้เริ่มร่างแบบพิมพ์เขียวโครงการพัฒนาชุมชนกันแล้ว การอภิปรายจะเริ่มต้นจากการย้ายบางส่วนของทเคบาชิ ไปที่ทางใต้ดินเอโดบาชิ คาดว่าโครงการนี้จะใช้เม็ดเงินในการดำเนินงานถึง 500 พันล้านเยน (4.5 พันล้านดอลลาร์) โดยมีส่วนแบ่งให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละราย โดยจะพิจารณาในภายหลัง

การเคลื่อนย้ายทางด่วนนี้จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ได้ดี ชุบชีวิตให้ นิฮงบาชิ ได้มีโฉมหน้าใหม่ให้กับเมืองหลวง “เราจะย้ายทางด่วนนี้ไปยังใต้ดิน เชื่อมเข้ากับการพัฒนาชุมชนด้วยกัน” ยูริโกะ โคอิเคะ เจ้าหน้าที่รัฐของกรุงโตเกียวเน้นย้ำในงานแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา “ฉันอยากทิ้งอนาคตไว้กับโตเกียวที่คนจะภูมิใจในอีก 100 ปีข้างหน้า” โคอิเคะหวังจะพัฒนาพื้นที่แถว โอเตะมาจิ กับนิฮงบาชิ ให้เป็นพื้นที่ศูนย์การค้าเพียงหนึ่งเดียว รวบรวมกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพและบริษัทคู่ค้าอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของเธอที่จะทำให้โตเกียวกลายเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก

“นิฮงบาชิถือเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญของญ่ปุ่นเมื่อสมัยก่อน” โยชิฮิเดะ ซุกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในวันเดียวกัน “การย้ายทางด่วนนี้ลงไปใต้ดินจะทำให้เมืองมีชีวิตชีวาขึ้นทั่วทั้งเมือง”

“การย้ายทางด่วนเป็นความใฝ่ฝันอันน่าจดจำของชาวบ้านในท่องถิ่นนี้มานานแล้ว” โยชิฮิเดะ ยาดะ นายกเทศมนตรีเมืองชูโอะกล่าวเสริม “ผมปลาบปลื้มมากที่เราได้ลงมือทำกันเสียที”

ในปีงบประมาณนี้ สามเขตในพื้ที่ของนิฮงบาชิ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นสภานภาพที่ดีในการเร่งโครงการฟื้นฟูแลพัฒนาเขตรอบๆได้เป็นอย่างดี ส่วนการพัฒนาเขตสำนักงานในขณะนี้ก็ได้ความร่วมมือจากบริษัทหลายบริษัทที่ยื่นมือเข้ามารับหน้าที่เป็นผู้นำในโครงการนี้ ได้แก่บริษัท มิตสุอิ ฟุโด้ซัง องค์กรพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โนมูระ และโตเกียว ทาเทะโมโนะ ยิ่งไปกว่านั้น ทางนิคมมิตซูบิชิก็ได้เริ่มวางแผนการก่อสร้างตึกสำนักงานที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีความสูงประมาณ 390 เมตร ใกล้เคียงกับนิฮงบาชิอีกด้วย