6 บทเรียนน่ารู้จากวัฒนธรรมธุรกิจของชาวญี่ปุ่

มีนักธุรกิจหลายต่อหลายคนที่ถูกย้ายไปทำงานในดินแดนแห่งพระอาทิตย์ขึ้น แล้วกลับมาพร้อมเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความแปลกประหลาดของที่นั่น สำหรับเราชาวตะวันตกแล้ว วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นยังคงเป็นเป็นปริศนาลึกลับที่ห่อหุ้มไว้ด้วยปริศนาลึกลับอีกที

 

แต่ภายใต้พื้นผิวที่น่างงงวยของมันนั้น ยังเต็มไปด้วยสังคมการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอีกด้วย ดูได้จากความมั่นคงทางเศรษฐกิจของพวกเขา อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องทำข้อตกลงร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ญี่ปุ่นจะมีพิธีการและระเบียบที่เข้มงวดมาก สำหรับชาวต่างชาติ หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกพวกเราว่า “ไกจิน” ธรรมเนียมการทำธุรกิจของชาวญี่ปุ่นดูจะลึกซึ้งมาก และยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณีที่มีมานานหลายชั่วอายุคนของพวกเขาว่า พวกเขาไม่อาจทำงานให้ชาวตะวันตกได้

 

แต่ถ้ามองผ่านพิธีกรรมไปแล้ว คุณจะเห็นรูปแบบ แนวคิดที่คุ้มค่ากับการทำความเข้าใจมัน อย่างเช่นการเคารพผู้อาวุโส ผู้สูงอายุเป็นต้น ใส่ใจในรายละเอียด และความมุ่งมั่นทางศาสนาที่บอกให้พวกเขาสนุกให้เต็มที่หลังเลิกงาน

 

นี่คือบทเรียน ข้อน่ารู้ที่ได้เรียนรู้มาจากเพื่อนร่วมโลกแถบตะวันออกไกลที่เรานำมาฝากกัน

 

ทำงานบริษัทญี่ปุ่นในไทย

งาน ภาษาญี่ปุ่น | CareerLink.co.th
https://www.careerlink.co.th/category/ภาษาญี่ปุ่น/154

หางานบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย – JobSugoi.com
https://www.jobsugoi.com/

 

เคลือบนามบัตร

 

การประชุมกันในญี่ปุ่นจะเริ่มจากการแลกเปลี่ยนนามบัตรของซึ่งกันและกันอย่างเป็นทางการก่อน เป็นพิธีที่เรียกว่า เมอิชิ โคคัง เมื่อรับมาแล้ว นักธุรกิจต้องรับมาด้วยมือทั้งสองข้างของพวกเขา อ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไป อ่านทวนข้อมูลในบัตรออกมาดังๆ จากนั้นก็วางลงไปในช่องเสียบบัตรหรือบนโต๊ะตรงหน้าเขา เพื่อจะได้พูดได้ถูกต้องเมื่อถึงคราวต้องพูดถึง เขาไม่เคยใส่มันลงไปในกระเป๋าเลย เพราะนั่นหมายถึงการไม่เคารพกันยังไงล่ะ

สิ่งนี้สอนอะไรเรา:

การแลกเปลี่ยนนามบัตรซึ่งกันและกันนี้ เป็นวิธีแสดงถึงการให้ความสำคัญของคนที่คุณคุยด้วย หรือกับคนที่คุณพบเจอ มันแสดงออกว่า คุณให้ความสำคัญกับการประชุมครั้งนี้ เช่นเดียวกับที่คุณจะให้ความสำคัญกับการประชุมครั้งต่อไปในอนาคต

เราจะปรับไปใช้ได้อย่างไร:

คงจะดูตลก และงี่เง่าไม่น้อยถ้าคุณทำตามพิธีกรรม เมอิชิ แบบเต็มรูปแบบที่ประเทศบ้านเกิดคุณ หรือที่ออฟฟิศในอเมริกาเหนือ เมื่อคุณได้รับนามบัตรแล้ว อย่างไรก็ตาม ให้เวลากับมันหน่อยก็ดี พยายามซึมซับข้อมูลในนั้น ไม่เสียหายอะไรถ้าคุณจะจำชื่อคู่ติดต่อของคุณได้ และคุณจะถูกมองว่าหยาบคายทันที ถ้าคุณจับนามบัตรของพวกเขายัดลงไปในกระเป๋าเสื้ออย่างไว

 

คล้อยตามผู้หลักผู้ใหญ่

 

เป็นปกติอยู่แล้วในการประชุมที่ญี่ปุ่นที่จะให้คำแนะนำแรกเริ่มแก่ผู้ที่อาวุโสที่สุดในการประชุมก่อน เราอย่าไปแสดงท่าทางไม่เห็นด้วยกับเขา และคอยให้ความสนใจแก่เขาเป็นประจำ เมื่อโค้งคำนับ ซึ่งเป็นการทักทายขั้นพื้นฐานของชาวญี่ปุ่น ควรจะต้องโค้งให้ต่ำที่สุดตามความอาวุโสที่สุดของคนนั้นๆ

สิ่งนี้สอนอะไรเรา:

วัฒนธรรมการทำธุรกิจของชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสในเรื่องของปัญญา และประสบการณ์ที่พวกเขาให้แก่บริษัท อายุ เท่ากับ ตำแหน่ง ในญี่ปุ่น ดังนั้น ใครที่แก่มากเท่าไร ความสำคัญก็มากขึ้นเท่านั้น

เราจะปรับไปใช้ได้อย่างไร:

คล้อยตามไปกับผู้ที่อาวุโสกว่าคุณ หรือผู้ที่การงานของเขาสูงกว่าคุณ ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับผู้จัดการ ให้แสดงความรู้สึกเสียใจออกมาในที่ส่วนตัว และอย่าได้ถามถึงอำนาจงานของเขาต่อหน้าคนหมู่มาก รู้ไว้ว่าผู้คนได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นเพราะทักษะและประสบการณ์ของพวกเขา

รู้เวลาปล่อยอารมณ์ให้ถูกกาลเทศะ

 

กระตุ้นแรงจูงใจด้วยคำขวัญ

 

นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นหลายต่อหลายคนจะเริ่มต้นวันของพวกเขาด้วยการประชุมยามเช้าที่ซึ่งพนักงานจะเข้าแถวตอนเรียงกัน และสวดคำขวัญของบริษัท เพื่อสร้างแรงจูงใจและสำนึกรักบริษัท และเพื่อคอยย้ำถึงเป้าหมายของบริษัทแก่พวกพนักงาน

สิ่งนี้สอนอะไรเรา:

ดูอย่างผิวเผินแล้ว พิธีการนี้อาจดูเหมือนการปลูกฝังวัฒนธรรมอะไรบางอย่าง แต่ชาวญี่ปุ่นเปรียบเหมือนว่า ได้พูดคุยกับคนที่มีแรงบันดาลใจกันมากกว่า การเรียกขวัญ กำลังใจยามเช้าเปรียบได้กับ ให้พนักงานคอยนึกถึงเป้าหมายระยะยาวของบริษัทไว้ในหัว ซึ่งจะโดนบดบังจนมิดด้วยงานที่มหาศาลของพนักงานแต่ละคนในเวลาต่อมา

เราจะปรับไปใช้ได้อย่างไร:

พึงระลึกกับตัวเองเสมอเมื่อคุณนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานของคุณว่า เราทำงานเพื่ออะไร อยู่เสมอ รีเฟรชเป้าหมายระยะยาวในใจของคุณ และตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานเป็นทีมในการไปให้ถึงเป้าหมายนั่นเอาไว้ คอยเขียนรายการคำขวัญของคุณ เพื่อที่คุณจะได้เอาขึ้นมาอ่านตอนที่คุณรู้สึกท้อ หรือหมดกำลังใจ

 

หน้านิ่งเข้าไว้

 

คุณจะไม่เคยเห็นหน้าตาที่นิ่งเฉยของใครที่ไหน เหมือนกับที่เห็นในออฟฟิศของญี่ปุ่นมาก่อนอย่างแน่นอน เว้นแต่การระเบิดหัวออกมาเป็นครั้งคราวของพวกเขา พนักงานที่นั่นจะเอาแต่ทำหน้านิ่ง ไม่แสดงอารมณ์ใดๆอยู่ตลอด โดยเฉพาะระหว่างการประชุม พวกเขาจะใช้น้ำเสียงโทนต่ำในการพูด และจะหลับตาอยู่บ่อยครั้งเมื่อต้องการเพ่งความสนใจไปที่ผู้พูด เหล่านี้เป็นอุปนิสัยที่ชาวตะวันตกเข้าใจกันผิดๆไปว่า เป็นสัญญาณของความเบื่อหน่าย

สิ่งนี้สอนอะไรเรา:

ชาวญี่ปุ่นจะมีความเคารพแก่สถานที่ทำงานของพวกเขามาก ไม่ค่อยมีอารมณ์ขัน ยกเว้นการหยอดมุกล้อเลียนกันเล็กๆในช่วงพักเบรก แทบจะไม่มีการสัมผัสกันทางกายภาพใดๆในหมู่เพื่อนร่วมเลย และแน่นอนว่า ไม่มีการแทงข้างหลังกันอย่างแน่นอน

เราจะปรับไปใช้ได้อย่างไร:

สำหรับเราแล้ว สถานที่ทำงานที่มีบรรยากาศมาคุ และเป็นทางการอยู่ตลอดเวลาทำให้เราเหมือนถูกกดขี่อยู่มากกว่า คุณไม่ต้องให้ค่าแก่ออฟฟิศของคุณถึงขนาดว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรอก แต่ไม่ใช่ว่าทำตัวเหมือนกับอยู่บ้านเพื่อนเลยก็ไม่ดี ลักษณะและการปฏิบัติงานที่เป็นมืออาชีพช่วยเพิ่มความเคารพในการทำงานและทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ทำงานให้หนัก เล่นให้หนัก

หลังจากวันที่มีการเจรจากันอย่างดุเดือดผ่านพ้นไปแล้ว พนักงานชาวญี่ปุ่นก็เตรียมที่จะทิ้งตัว การไปเที่ยวบาร์หลังเลิกงานเป็นเรื่องปกติทั่วไป หากไม่ได้ยึดตามประเพณีนะ ถ้าหากว่าสถานที่ทำงานเต็มไปด้วยความเข้มงวดและหลักการต่างๆมากมายแล้ว บาร์เหล้านี่แหละจะเป็นที่ๆพนักงาน และนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นจะได้ปลดปล่อยสัญชาตญาณสัตว์ป่าออกมา ที่ชื่นชอบกันตลอดกาลก็คือ บาร์คาราโอเกะ ที่ซึ่งทุกคนสามารถจะร่วมร้องเพลงไปกับนักร้องด้วยกันได้ แม้ว่านักร้องจะคุมโทนเสียงตัวเองไม่ได้เลยก็เถอะ นอกเหนือจากเป็นที่รักษาสมดุลกันระหว่าง การทำงาน และ การเล่น แล้ว ที่เที่ยวยามค่ำคืนยังเป็นจุดที่เชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนร่วมงานด้วยกัน เสริมสร้างการทำงานเป็นทีมให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย

สิ่งนี้สอนอะไรเรา:

ถือเป็นเรื่องสำคัญเลยว่า อย่าให้การงานมาครอบงำชีวิตของคุณ การพักผ่อนถือเป็นส่วนสำคัญของวันหนึ่งๆเลย มันช่วยปลดปล่อยความเครียดสะสม และคลายความวิตกกังวลให้แก่คุณ

เราจะปรับไปใช้ได้อย่างไร:

ไม่เป็นไรถ้าหากคุณจะลืมนึกถึงเรื่องงานไปสักระยะหนึ่ง แม้กระทั่งตอนอยู่ท่ามกลางเพื่อนร่วมงานก็เถอะ มีความสุขกับชั่วโมงแห่งความสุขนี้และไปร่วมงานเลี้ยงของออฟฟิศเสีย การทำตัวเข้ากับสังคมและเป็นกันเองกับเพื่อนร่วมงานของคุณนอกเวลางานจะช่วยให้คุณเป็นมนุษย์มากขึ้น

 

ใช้เส้นสายเป็นการรับรอง

เส้นสายถือเป็นสิ่งสำคัญในญี่ปุ่น และจะถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้งในการเปิดการเจรจา การได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของผู้ที่มีอำนาจมาก จะทำให้คุณมีความสำคัญมากขึ้นในแวดวงอื่นๆ เป็นเรื่องปกติของนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่จะจัดให้มีการประชุมเดี่ยวกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อขอการรับรองจากพวกเขา เป็นที่น่าประทับใจอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณได้รับการรับรองจากบุคคลที่มีตำแหน่งเดียวกันกับคนที่คุณกำลังติดต่อด้วย

สิ่งนี้สอนอะไรเรา:

การได้รับอนุมัติจากคนที่ประสบความสำเร็จ อาจทำให้เห็นถึงความอุสาหะ และความสามารถในการหากำไรเข้าบริษัทในตัวคุณ ชาวญี่ปุ่นจะรู้สึกผูกพัน และจะจงรักภักดีต่อการรับรองจากเพื่อนที่นับหน้าถือตากัน

เราจะปรับไปใช้ได้อย่างไร:

เราเรียกว่า “การอ้างชื่อ” ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยน่าเคารพสักเท่าไหร่ คุณไม่อยากจะเป็นคนขี้โกหกหรอก แต่ก็เถอะ วิธีนี้มันยังใช้ได้อยู่ สำหรับเรา มันเหมือนกับการขีดเส้นใต้ให้ ความสำคัญของเครือข่าย ทอดสะพานทุกที่ที่คุรไป และคนอื่นๆจะคิดถึงคุณ วันหนึ่ง คุณอาจจะได้รับการรับรอง ซึ่งอาจทำให้คุณได้งานในฝันเลยก็เป็นได้